โมเดลปลาทู (Tuna Model:thai-UNAids Model)  คิดขึ้นโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด 
 เป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการความรู้ และในการทำความเข้าใจ 3 ส่วนหลักของการจัด
การความรู้ว่าสัมพันธ์กับบุคคล 3  กลุ่ม ในการดำเนินการจัดการความรู้เปรียบการจัดกา
รความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วนคือ
           1. หัวปลา  หมายถึง  เป้าหมายหลักของการดำเนินการจัดการความรู้ สะท้อน 
"วิสัยทัศน์ความรู้ หรือหัวใจของความรู้ เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ส่วนที่เป็นเป้าหมาย 
 วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้  โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า
 "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร " โดย "หัวปลา" จะต้องเป็น "คุณกิจ" หรือผู้ดำเนินกิจกรรม KM  
ทั้งหมด บุคคลที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดหัวปลาที่ชัดเจน คือ "คุณเอื้อ(ระบบ)"
          2. ตัวปลา  หมายถึง  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการแบ่งปันความรู้ (KS) 
 เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคคลสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด "ตัวปลา"
 ที่ทรงพลังคือ "คุณอำนวย" ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ"
 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่ซ่อนเร้นที่อยู่ในตัว "คุณกิจ"
 พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม  ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ 
ยกระดับความรู้และเกิดนวัตกรรม
        3. "หางปลา" หมายถึง  ขุมความรู้  (KA) ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผู้สกัดขุมความรู้ ออกมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกไว้ใช้งานต่อ
 คือ "คุณกิจ"  โดยที่การจดบันทึกขุมความรู้ อาจมี "คุณลิขิต" เก็บสะสม "เกร็ดความรู้"
 ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" 
ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT  ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด 
นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป